แนวคิดในการเขียนโปรแกรม
รูปแบบของแนวคิดในการเขียนโปรแกรม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวคิดใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง (Structured Programming)
2. การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP : Object-Oriented Programming)
ซึ่งแต่ละแนวคิดมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง
(Structured Programming) เป็นการจัดการคำสั่งต่างๆ ให้มีรูปแบบและมาตรฐานที่สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่าย
ตรวจสอบได้ง่าย ทั้งสะดวกในการปรับปรุงโปรแกรมในอนาคต มีโครงสร้างการควบคุม 3 รูปแบบ ได้แก่
1.1) โครงสร้างแบบลำดับขั้นตอน (Sequence) ประกอบด้วยคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่ไม่มีเงื่อนไข
ไม่มีการตัดสินใจ มีทางเข้าทางเดียว และมีทางออกทางเดียว
ดำเนินการแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง โดยแต่ละขั้นตอนมีการดำเนินการเพียงครั้งเดียว
มีรูปแบบผังงานดังภาพ
ภาพที่ 2.1 ผังงานโครงสร้างแบบลำดับขั้นตอน
ภาพที่ 2.2 ตัวอย่างผังงานแบบลำดับขั้นตอo
|
1.2)
โครงสร้างแบบมีทางเลือก ในการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง (Decision)
ในโปรแกรมมีการตรวจสอบเงื่อนไข (Condition) ว่าเป็นค่าจริงหรือค่าเท็จ
แล้วดำเนินการตามคำสั่งที่เงื่อนไขกำหนดต่อไป โดยมีรูปแบบผังงานดังภาพ
ภาพที่ 2.3 ผังงานโครงสร้างแบบมีทางเลือก
|
ภาพที่ 2.4 ตัวอย่างผังงานแบบมีทางเลือก
|
1.3)
โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration) เป็นการทำงานแบบวนซ้ำหลาย
ๆ รอบ และหลุดจากเงื่อนไขก็ต่อเมื่อเงื่อนไขตรงกับที่กำหนดไว้
ภาพที่ 2.5 ผังงานโครงสร้างแบบทำซ้ำ
|
ภาพที่ 2.6 ตัวอย่างผังงานแบบทำซ้ำ
|
2. การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP : Object-Oriented Programming) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแนวคิดเชิงวัตถุ ตั้งอยู่บนพื้นฐานการแจกแจงรายละเอียดของปัญหา ผู้เขียนโปรแกรมต้องพยายามแยกประเภทของวัตถุให้ได้ ต้องมีจินตนาการพอสมควร ซึ่งจะมองวัตถุหนึ่ง ๆ เป็นแหล่งรวมของข้อมูล และกระบวนการไว้ด้วยกัน โดยจะมีคลาส (Class) เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของวัตถุ และคลาสสามารถสืบทอดคุณสมบัติ(Inheritance) ที่เรียกว่า Subclass ได้ มีการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusable) ทำให้ลดขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมลงได้ โดยเฉพาะโปรแกรมขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น