เรามาทำความรู้จักกันก่อนเลยค่ะ
คอมพิวเตอร์
เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถทำงานด้วยตนเองได้แต่จะสามารถทำงานได้ตามชุดคำสั่งในโปรแกรมที่ป้อนเข้าสู่เครื่อง
ซึ่งจะทำงานตามคำสั่งทีละคำสั่ง (Step by Step) โดยคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้จะต้องอยู่ในรูปแบบของภาษาเครื่อง (Machine Language) แต่ถ้ามีการเขียนด้วยภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาเครื่อง
หรือที่เรียกว่า ภาษาชั้นสูง (High-level Language) ก็จะต้องมีตัวแปลภาษา
เช่น คอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
ทำการแปลภาษาชั้นสูงนั้นให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่งในการเขียนโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์นี้โดยทั่วไปแล้วแต่ละภาษาจะมีหลักเกณฑ์ในการเขียนและการออกแบบโปรแกรมเหมือนกันซึ่งสามารถที่จะแบ่งขั้นตอนการเขียนโปรแกรมออกได้เป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.
ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา (Analysis the Problem)
2.
ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม (Design a Program)
3.
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม (Coding)
4.
ขั้นตอนการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Testing and Debugging)
5.
ขั้นตอนการทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม (Testing and Validating)
6.
ขั้นตอนการทำเอกสารประกอบโปรแกรม (Documentation)
7.
ขั้นตอนการบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance)
ขั้นตอนที่
1 ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา (Analysis the problem)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดที่นักเขียนโปรแกรมจะต้องทำก่อนที่จะลงมือเขียนโปรแกรมจริง
ๆ เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น และค้นหาจุดมุ่งหมายหรือสิ่งที่ต้องการ
ในขั้นตอนนี้จะมีองค์ประกอบอยู่ 3 องค์ประกอบที่จะช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา ได้แก่
1.
การระบุข้อมูลเข้า (Input) ต้องรู้ว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่จะต้องป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรม
เพื่อให้โปรแกรมทำการประมวลผลและออกผลลัพธ์
2.
การระบุข้อมูลออก (Output) จะพิจารณาว่างานที่ทำมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อะไร
ต้องการผลลัพธ์ที่มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
โดยจะต้องคำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลักในการออกแบบผลลัพธ์
3.
กำหนดวิธีการประมวลผล (Process) ต้องรู้วิธีการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
2.
ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม (Design a Program)
หลังจากวิเคราะห์ปัญหาแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือ
การออกแบบโปรแกรม โดยใช้เครื่องมือมาช่วยในการออกแบบ
ในขั้นตอนนี้ยังไม่ได้เป็นการเขียนโปรแกรมจริง ๆ
แต่จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น โดยสามารถเขียนตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนนี้
และช่วยให้การเขียนโปรแกรมมีข้อผิดพลาดน้อยลง ช่วยตรวจสอบการทำงานของโปรแกรม
ทำให้ทราบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว
โดยไม่ต้องไปไล่ดูจากตัวโปรแกรมจริง ๆ
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบการเขียนโปรแกรมเหมือนกับการสร้างบ้านแล้ว ในขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมนี้
ก็เปรียบเหมือนการสร้างแปลนบ้านลงในกระดาษไว้ ซึ่งในการสร้างบ้านจริง
ก็จะอาศัยแปลนบ้านนี้เป็นต้นแบบในการสร้างนั่นเอง
ในขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมนี้
เป็นการออกแบบการทำงานของโปรแกรม หรือขั้นตอนในการแก้ปัญหา
ซึ่งผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้เครื่องมือมาช่วยในการออกแบบได้
โดยเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมมีอยู่หลายอย่าง
ซึ่งวิธีการซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับใช้ในการออกแบบโปรแกรม เช่น
• อัลกอริทึม
(Algorithm)
• ผังงาน (Flowchart)
• รหัสจำลอง (Pseudo-code)
• แผนภูมิโครงสร้าง
(Structure Chart)
อัลกอริทึมเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรม
โดยใช้ข้อความที่เป็นภาษาพูดในการอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่เป็นลำดับขั้นตอน
จะข้ามไปข้ามมาไม่ได้ นอกจากจะต้องเขียนสั่งไว้ต่างหาก ตัวอย่างอัลกอริทึมง่าย ๆ
ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ได้แก่ อัลกอริทึมการสระผมเริ่มจากการทำผมให้เปียกโดยการราดน้ำ
เมื่อผมเปียกแล้วจึงใส่แชมพูสระผมลงบนศีรษะ แล้วขยี้ให้มีฟองเกิดขึ้น
หลังจากนั้นก็ล้างออกด้วยน้ำ แล้วเริ่มทำใหม่อีกครั้ง
ในการเขียนอัลกอริทึมนี้
แม้จะมีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว แต่ก็มีจุดอ่อนอยู่ที่
ข้อความอธิบายค่อนข้างเยิ่นเย้อ และถ้าผู้เขียนใช้สำนวนที่อ่านยาก
ก็อาจทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้ ดังนั้น
จึงมีการคิดค้นเครื่องมืออื่นที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรมแทนอัลกอริทึม ได้แก่
ผังงาน รหัสจำลอง แผนภูมิโครงสร้าง
ผังงานเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรม
โดยใช้สัญลักษณ์รูปภาพ แสดง ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
หรือขั้นตอนในการแก้ปัญหาทีละขั้น และมีเส้นที่แสดงทิศทางการไหลของข้อมูล
ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้โดยง่าย
รหัสจำลองจะมีการใช้ข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็ได้
ในการแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา แต่จะมีการใช้คำเฉพาะ (Reserve words) ที่มีอยู่ในภาษาโปรแกรม มาช่วยในการเขียน
โครงสร้างของรหัสจำลองจึงมีส่วนที่คล้ายกับการเขียนโปรแกรมมาก ดังนั้น
รหัสจำลองจึงเป็นเครื่องมืออีกแบบที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในการออกแบบโปรแกรม
แผนภูมิโครงสร้างการใช้แผนภูมิโครงสร้าง
จะเป็นการแบ่งงานใหญ่ออกเป็นโมดูลย่อย ๆ ซึ่งเรียกว่า การออกแบบจากบนลงล่าง (Top-Down Design) แต่ละโมดูลย่อยก็ยังสามารถแตกออกได้อีกจนถึงระดับล่างสุดที่สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างง่าย
3.
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม (Coding)
ในขั้นตอนนี้จะเป็นการนำเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นจากขั้นตอนการออกแบบมาแปลให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ซึ่งในการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น เราสามารถเลือกใช้ภาษาได้หลายภาษา
ตั้งแต่ภาษาระดับต่ำ เช่น ภาษาแอสเซมบลี จนถึงภาษาระดับสูง เช่น ภาษาเบสิก
ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล ภาษาซี ซึ่งแต่ละภาษาจะมีรูปแบบ โครงสร้าง
หรือไวยากรณ์ของภาษาที่แตกต่างกันออกไปดังนั้น การเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น
ควรจะต้องทำตามขั้นตอนคือ เริ่มตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหาให้ได้ก่อน
แล้วทำการออกแบบโปรแกรมจึงจะเริ่มเขียนโปรแกรม ซึ่งในการเขียนโปรแกรมนั้น
สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์การเขียนโปรแกรมเพียงพอ
ก็ควรจะทดลองเขียนลงในกระดาษก่อน แล้วตรวจสอบจนแน่ใจว่าสามารถทำงานได้แล้ว
จึงทำการป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและทำให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น
4.
ขั้นตอนการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Testing and Debugging)
หลังจากที่ทำการเขียนโปรแกรมเสร็จสิ้นแล้ว
โปรแกรมนั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบก่อนว่า มีข้อผิดพลาด (error) ในโปรแกรมหรือไม่
ซึ่งอาจเกิดจากการเขียนโปรแกรมที่ผิดหลักไวยากรณ์ของภาษาเป็นต้น
โดยทั่วไปจะมีวิธีที่จะตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม 2 ขั้นตอน ดังนี้
1.
ตรวจสอบด้วยตนเอง (Self Checking) เป็นการทดลองเขียนโปรแกรมลงบนกระดาษ
แล้วใส่ตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นด้วยตนเอง
ว่าโปรแกรมมีการทำงานที่ถูกต้อง ได้ผลลัพธ์ตรงตามความเป็นจริงหรือไม่
2.
ตรวจสอบด้วยการแปลภาษา (Translating) หลังจากที่เขียนโปรแกรมเสร็ข
และมีการตรวจสอบด้วยตนเองเรียบร้อยแล้ว
ก็จะป้อนโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการแปลโปรแกรม
โดยจะต้องเรียกใช้ตัวแปลภาษาโปรแกรม ที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทำการแปลภาษาโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่อง
การแปลนี้จะเป็นการตรวจสอบความผิดพลาดของโปรแกรมด้วย ซึ่งถ้ามีข้อผิดพลาดใด ๆ
เครื่องคอมพิวเตอร์จะแจ้งให้ทราบทางหน้าจอ หลังจากที่ทำการเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว
เวลา 50-70% ของเวลาในการพัฒนาโปรแกรม จะถูกใช้ไปในการหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมและการ
แก้ไขข้อผิดพลาดนั้น
5.
ขั้นตอนการทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม (Testing and Validating)
ในบางครั้ง โปรแกรมอาจผ่านการแปล
โดยไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ แจ้งออกมา แต่เมื่อนำโปรแกรมนั้นไปใช้งาน
ปรากฏว่าได้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นจริง เนื่องจากอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้
ดังนั้นจึงควรจะต้องมีขั้นตอนการทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมอีกทีด้วยในการทดสอบความถูกต้องของข้อมูล
จะมีอยู่หลายวิธี ดังต่อไปนี้
1.การใส่ข้อมูลที่ถูกต้อง
(Valid
Case) เป็นการทดสอบโปรแกรมเมื่อมีการรันโปรแกรม
ให้ทำการใส่ข้อมูลที่ถูกต้องลงไปในโปรแกรม และดูว่าผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือตรงตามที่ต้องการหรือไม่
2.การใช้ขอบเขตและความถูกต้องของข้อมูลเป็นการทดสอบ
โดยตรวจสอบขอบเขตของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่โปรแกรม เช่น
ถ้าโปรแกรมให้มีการป้อนวันที่ ก็จะต้องตรวจสอบว่า
วันที่ที่ป้อนจะต้องไม่เกินวันที่ 31 ถ้าผู้ใช้ป้อนวันที่ที่เป็นเลข 32
โปรแกรมจะต้องไม่ยอมให้ป้อนวันที่นี้ได้
3.การใช้ความสมเหตุสมผล
ตัวอย่างเช่น
ถ้าโปรแกรมมีการออกแบบให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลลงไปในฟอร์มที่มีข้อมูลที่เป็นเพศ (หญิง
หรือ ชาย) และรายละเอียดส่วนตัวของคน ๆ นั้น เช่นเพศ วันลาคลอดชาย ต้องไม่มี
(ห้ามใส่)หญิง อาจมีหรือไม่มีก็ได้
4.ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร
เป็นการตรวจสอบว่า
ถ้าโปรแกรมให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลในฟิลด์ที่ต้องรับข้อมูลที่เป็นตัวเลข อย่างเช่น
ฟิลด์ที่เป็นจำนวนเงิน ก็ควรจะยอมให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลได้เฉพาะตัวเลขเท่านั้น
ไม่อนุญาตให้ใส่ตัวอักษรในฟิลด์นั้นได้
หรือถ้าเป็นฟิลด์ที่รับข้อมูลที่เป็นตัวอักษร เช่น ฟิลด์ชื่อ-นามสกุล ก็จะป้อนข้อมูลได้เฉพาะตัวอักษรเท่านั้น
จะป้อนตัวเลขไม่ได้
5.ข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนด
ข้อมูลที่ป้อนในฟิลด์ ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วเท่านั้น เช่น
กำหนดให้ฟิลด์นี้ป้อนข้อมูลได้เฉพาะตัวเลขที่อยู่ในกลุ่ม 1,2,5,7 ได้เท่านั้น
จะป้อนเป็นตัวเลขอื่นที่ไม่อยู่ในกลุ่มนี้ ไม่ได้
6.
ขั้นตอนการทำเอกสารประกอบโปรแกรม (Documentation)
การทำเอกสารประกอบโปรแกรม คือ
การอธิบายรายละเอียดของโปรแกรมว่า จุดประสงค์ของโปรแกรมคืออะไร
สามารถทำงานอะไรได้บ้าง และมีขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างไร
เครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรมเช่น ผังงาน หรือรหัสจำลอง
ก็สามารถนำมาประกอบกันเป็นเอกสารประกอบโปรแกรมได้โปรแกรมเมอร์ที่ดี
ควรมีการทำเอกสารประกอบโปรแกรม ทุกขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรม
ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการออกแบบ การเขียนโปรแกรม หรือขั้นตอนการทดสอบโปรแกรม
ซึ่งการทำเอกสารนี้จะมีประโยชน์อย่างมากต่อหน่วยงาน
เนื่องจากบางครั้งอาจต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมที่ได้มีการทำเสร็จไปนานแล้ว
เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนไปจะทำให้เข้าใจโปรแกรมได้ง่ายขึ้นและจะเป็นการสะดวกต่อผู้ที่ต้องเข้ามารับช่วงงานต่อทีหลังเอกสารประกอบโปรแกรม
โดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ
1.
เอกสารประกอบโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ (User Documentation)
จะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม
แต่เป็นผู้ที่ใช้งานโปรแกรมอย่างเดียว
จะเน้นการอธิบายเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น
- โปรแกรมนี้ทำอะไร ใช้งานในด้านไหน
- ข้อมูลเข้า
มีลักษณะอย่างไร
- ข้อมูลออกหรือผลลัพธ์มีลักษณะอย่างไร
- การเรียกใช้โปรแกรม
ทำอย่างไร
- คำสั่งหรือข้อมูลที่จำเป็นให้โปรแกรมเริ่มทำงาน
มีอะไรบ้าง
- อธิบายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ
และความสามารถของโปรแกรม
2.
เอกสารประกอบโปรแกรมสำหรับผู้เขียนโปรแกรม (Technical Documentation)
จะได้ออกได้เป็น 2 ส่วน
- ส่วนที่เป็นคำอธิบายหรือหมายเหตุในโปรแกรม
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คอมเมนท์ (Comment) ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเขียนแทรกอยู่ในโปรแกรม
อธิบายการทำงานของโปรแกรมเป็นส่วน ๆ
- ส่วนอธิบายด้านเทคนิค
ซึ่งส่วนนี้มักจะทำเป็นเอกสารแยกต่างหากจากโปรแกรม จะอธิบายในรายละเอียดที่มากขึ้น
เช่น ชื่อโปรแกรมย่อยต่าง ๆ มีอะไรบ้าง แต่ละโปรแกรมย่อยทำหน้าที่อะไร
และคำอธิบายย่อ ๆ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโปรแกรม
7.
ขั้นตอนการบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance)
เมื่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว
และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน
ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง
ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแล และตรวจสอบการทำงาน
การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูแลและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรมและปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนาน ๆ
ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ เช่น
ต้องการเปลี่ยนแปลงหน้าตาของรายงาน มีการเพิ่มเติมข้อมูลหรือลบข้อมูลเดิม
นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุง
แก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น
คุณสมบัติของนักเขียนโปรแกรมที่ดี
นักเขียนโปรแกรมหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
โปรแกรมเมอร์นั้น ควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ดี
- รักและชอบในการเขียนโปรแกรม
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และไฝ่ที่จะเรียนรู้
- มีความอดทนต่อการเขียนโปรแกรม
ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลานานในการเขียนโปรแกรม
- ต้องรู้จักการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มคณะ
ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมที่ใหญ่ ๆ อาจต้องมีการทำงานกันเป็นทีม
ต้องมีการแบ่งงานกันทำเป็นส่วน ๆ แล้วจึงจะนำมารวมกันทีหลัง
ผลงานที่ออกมาจะต้องเป็นผลงานส่วนรวมของทั้งทีม ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง
ดังนั้นจึงต้องรู้จักการถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็นให้แก่คนในทีมงานเดียวกัน
- ต้องหมั่นทำเอกสารประกอบโปรแกรมไว้ตลอด
เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาต่อไปในภายหลัง
ลักษณะของโปรแกรมที่ดี
โปรแกรมที่ดี
จะต้องมีลักษณะ ดังนี้
- สามารถอ่านแล้วมีความเข้าใจง่าย
ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำสั่ง GOTO เพื่อสั่งให้โปรแกรมกระโดดไปทำงานที่จุดนั้น
จุดนี้ เพราะจะทำให้ ผู้อ่านโปรแกรมเกิดความสับสนได้ง่าย
- ควรจะเปิดโอกาสให้สามารถเข้าไปทำการแก้ไข
หรือขยายโปรแกรมได้โดยง่าย
นั่นคือควรจะมีการแบ่งการทำงานของโปรแกรมนั้นทั้งหมดออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่เรียกว่า
โมดูล (Module) โดยแต่ละโมดูลก็จะมีหน้าที่การทำงานที่อิสระจากกัน
แต่จะมีการส่งผ่านข้อมูลให้กันและกันได้ระหว่างโมดูล
ดังนั้นผู้ที่จะเข้าไปทำการแก้ไขโปรแกรม ก็สามารถเลือกได้ว่า
โมดูลไหนที่เกี่ยวข้องกับตน ก็จะแก้ไขเฉพาะ โมดูลนั้น
โดยไม่จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของโปรแกรมทั้งหมด
- มีคำอธิบายโปรแกรมหรือคอมเมนท์ สอดแทรกอยู่ในแต่ละโมดูล เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในการทำงานของโมดูลนั้น ควรทำงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
- มีคำอธิบายโปรแกรมหรือคอมเมนท์ สอดแทรกอยู่ในแต่ละโมดูล เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในการทำงานของโมดูลนั้น ควรทำงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น