อัลกอริทึม(Algorithm)
ความหมายของอัลกอริทึม
อัลกอริทึม ( Algorithm ) หมายถึง ขั้นตอนหรือลำดับการประมวลผลในการแก้ปัญหาใด
ปัญหาหนึ่ง ซึ่ง จะช่วยให้โปรแกรมเมอร์เห็นขั้นตอนของการเขียนโปรแกรมง่ายขึ้น
อัลกอริทึม ( Algorithm )หมายถึง แนวคิดอย่างมีเหตุผลที่ผู้เขียนโปรแกรม ( หรือ
โปรแกรมเมอร์ หรือ นักวิเคราะห์ระบบ ) ใช้ในการอธิบายวิธีการอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับในการที่
จะพัฒนาโปรแกรมนั้น ๆ ให้กับผู้ที่สนใจหรือผู้ที่เป็นเจ้าของงานหรือผู้ที่รับผิดชอบได้ทราบถึงขั้นตอน
ต่างๆ ในการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรม ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ที่เป็นเจ้าของงานหรือผู้ที่รับผิดชอบนั้น
ได้ตรวจสอบขั้นตอนต่างๆ ในการทำงานและความถูกต้องในแต่ละขั้นตอน โดยผู้ที่เป็นเจ้าของงาน
หรือผู้ที่รับผิดชอบนั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเป็น
หลักการเขียนอัลกอริทึม
1. เรียงลำดับความสำคัญของงานที่จะทำ
2. เขียนออกมาในลักษณะภาษาเขียนสามารถเข้าใจง่าย
3. มีความละเอียดของโครงสร้างพอสมควร
ตัวอย่างการเขียนอัลอกริทึม
ในรูปคำสั่งเทียม คือ มีลักษณะเป็นการเขียนคำสั่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจ
ง่าย ซึ่งคำสั่งที่ใช้จะเป็นคำพูดธรรมดา ไม่ยึดหลักไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างที่ 1 การหาผลรวมของตัวเลข N จำนวน
Program : Sum
รับค่าจำนวนตัวเลขทั้งหมดเก็บไว้ที่ตัวแปร N
กำหนดให้ตัวแปรเก็บตัวนับเริ่มต้น I = 1 , เก็บผลรวมเริ่มต้น Sum = 0
Repeat
รับค่าข้อมูลเก็บไว้ที่ X
นำค่าข้อมูลที่อ่านได้บวกสะสมไว้ที่ตัวแปรเก็บผลรวม Sum
เพิ่มค่าตัวนับ I ขึ้นอีก 1
Until เป็นเลขตัวสุดท้ายจริง ( I > N )
แสดงตัวแปรที่เก็บผลรวมสะสม Sum
End Program
ตัวอย่างที่ 2 หาค่าสูงสุด และ ต่ำสุดจากตัวเลขทั้งหมด N จำนวน
Program : Max_Min
รับค่าจำนวนตัวเลขทั้งหมดเก็บไว้ที่ตัวแปร N
กำหนดให้ตัวแปรเก็บตัวนับเริ่มต้น I = 1
อ่านเลขตัวแรกเก็บไว้ที่ตัวแปร X
กำหนดให้ตัวแปร X เป็นทั้งค่ามากที่สุดและน้อยที่สุด เก็บไว้ที่ตัวแปร Max
และ Min
Repeat
อ่านเลขตัวถัดไป เก็บไว้ที่ X และเพิ่มค่าตัวนับ I อีก 1
If X > Max Then
เปลี่ยนค่าใน Max ให้เก็บค่า X แทน
Else
If X < Min Then
เปลี่ยนค่าใน Min ให้เก็บค่า X แทน
End if
End if
ให้ค่า Max = Max , ค่า Min = Min
Until I > n
แสดง ตัวเลขในตัวแปร Max และ Min
End Program
ความหมายของโฟลว์ชาร์ต
โฟลว์ชาร์ต ( Flow Chart ) หมายถึง
ผังแสดงขั้นตอนและลำดับการทำงานต่าง ๆ ในโปรแกรม
โดยแสดงในรูปแบบของสัญลักษณ์แทนการทำงาน
โฟลว์ชาร์ต ( Flow Chart ) หมายถึง วิธีการออกแบบโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอนและมีเหตุมีผล
โดยการใช้สัญลักษณ์และตัวอักษรประกอบการอธิบายในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมและผู้
ที่สนใจทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้
สัญลักษณ์โฟลว์ชาร์ต
โดยแสดงในรูปแบบของสัญลักษณ์แทนการทำงาน
โฟลว์ชาร์ต ( Flow Chart ) หมายถึง วิธีการออกแบบโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอนและมีเหตุมีผล
โดยการใช้สัญลักษณ์และตัวอักษรประกอบการอธิบายในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมและผู้
ที่สนใจทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้
สัญลักษณ์โฟลว์ชาร์ต
หลักในการเขียนโฟลว์ชาร์ต
ในการเขียนผังงานหรือโฟลว์ชาร์ต ต้องรู้จักเลือกใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่เหมาะสม รวมถึง
อุปกรณ์ที่ช่วยในการเขียนผังงานที่เรียกว่า “ Flow Chart Template “ ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยให้การเขียน
ผังงานสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในการเขียนผังงานนี้จะเขียนตามขั้นตอนและวิธีการประมวลผลที่ได้ ทำการวิเคราะห์งานเอาไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาตามลำดับก่อนหลังของการทำงาน เพื่อจัดภาพของผังงานให้เป็นมาตรฐานง่ายต่อการเข้าใจ และช่วยให้การเขียนโปรแกรมจากผังงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การเขียนผังงานเป็นมาตรฐานเดียวกันจะใช้ลำดับในการเขียนผังงานดังนี้
ในการเขียนผังงานหรือโฟลว์ชาร์ต ต้องรู้จักเลือกใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่เหมาะสม รวมถึง
อุปกรณ์ที่ช่วยในการเขียนผังงานที่เรียกว่า “ Flow Chart Template “ ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยให้การเขียน
ผังงานสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในการเขียนผังงานนี้จะเขียนตามขั้นตอนและวิธีการประมวลผลที่ได้ ทำการวิเคราะห์งานเอาไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาตามลำดับก่อนหลังของการทำงาน เพื่อจัดภาพของผังงานให้เป็นมาตรฐานง่ายต่อการเข้าใจ และช่วยให้การเขียนโปรแกรมจากผังงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การเขียนผังงานเป็นมาตรฐานเดียวกันจะใช้ลำดับในการเขียนผังงานดังนี้
1. การกำหนดค่าเริ่มต้น เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรต่างๆ
ที่จำเป็นบางตัว ได้แก่
ตัวแปรที่ใช้เป็นตัวนับ หรือตัวแปรที่เป็นตัวคำนวณผลรวมต่างๆ
2. การรับข้อมูลเข้า เป็นการรับข้อมูลนำเข้ามาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการประมวลผล แล้วนำค่ามาเก็บไว้ในตัวแปรใด ๆ ที่กำหนดเอาไว้
3. การประมวลผล เป็นการประมวลผลตามที่ได้มีการกำหนด หรือเป็นการคำนวณต่างๆ ซึ่ง
จะต้องทำทีละลำดับขั้นตอนและแยกรูปแต่ละรูปออกจากกันให้ชัดเจนด้วย
4. การแสดงผลลัพธ์ เป็นการแสดงข้อมูลที่ได้จากการคำนวณหรือผลลัพธ์ที่ต้องการหรือค่า
จากตัวแปรต่างๆ ซึ่งการแสดงผลลัพธ์นี้มักจะกระทำหลังจากการประมวลผลหรือหลังจาก
การรับข้อมูลเข้ามาแล้;
ตัวแปรที่ใช้เป็นตัวนับ หรือตัวแปรที่เป็นตัวคำนวณผลรวมต่างๆ
2. การรับข้อมูลเข้า เป็นการรับข้อมูลนำเข้ามาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการประมวลผล แล้วนำค่ามาเก็บไว้ในตัวแปรใด ๆ ที่กำหนดเอาไว้
3. การประมวลผล เป็นการประมวลผลตามที่ได้มีการกำหนด หรือเป็นการคำนวณต่างๆ ซึ่ง
จะต้องทำทีละลำดับขั้นตอนและแยกรูปแต่ละรูปออกจากกันให้ชัดเจนด้วย
4. การแสดงผลลัพธ์ เป็นการแสดงข้อมูลที่ได้จากการคำนวณหรือผลลัพธ์ที่ต้องการหรือค่า
จากตัวแปรต่างๆ ซึ่งการแสดงผลลัพธ์นี้มักจะกระทำหลังจากการประมวลผลหรือหลังจาก
การรับข้อมูลเข้ามาแล้;
ซูโดโค้ด (Pseudocode)
เป็นคำอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ถ้อยคำผสมระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง จะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้เป็นโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่มักใช้คำเฉพาะ (Reserve Word) ที่มีในภาษาการเขียนโปรแกรมและมักเขียนด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ซูโดโค้ดที่ดี จะต้องมีความชัดเจน สั้น และได้ใจความ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้จะถูกเขียนอยู่ในรูปของตัวแปร
เป็นคำอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ถ้อยคำผสมระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง จะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้เป็นโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่มักใช้คำเฉพาะ (Reserve Word) ที่มีในภาษาการเขียนโปรแกรมและมักเขียนด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ซูโดโค้ดที่ดี จะต้องมีความชัดเจน สั้น และได้ใจความ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้จะถูกเขียนอยู่ในรูปของตัวแปร
หลักการเขียนซูโดโค้ด
1.
ถ้อยคำที่ใช้เขียน
ใช้ภาษาอังกฤษที่เข้าใจง่าย
2.
ในหนึ่งบรรทัด
ให้มีเพียงหนึ่งประโยคคำสั่ง
3.
ใช้ย่อหน้าให้เป็นประโยชน์
ในการแสดงการควบคุมอย่างเป็นสัดส่วน
4.
แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนจากบนลงล่าง
และมีทางออกทางเดียว
5.
กลุ่มของประโยคคำสั่งอาจรวมเป็นหมวดหมู่แล้วเรียกใช้เป็นโมดูล
วิธีการเขียนซูโดโค้ด
• ประโยคคำสั่ง (Statement) จะอยูในรูปแบบของภาษาอังกฤษอย่างง่าย
• ในหนึ่งบรรทัด ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว
• ควรใช้ย่อหน้า เพื่อแยกคำเฉพาะ (Keywords) ได้ชัดเจน รวมถึงจัดโครงสร้างการควบคุมให้เป็นสัดส่วน ซึ่งช่วยให้อ่านโค้ดได้ง่าย
• แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงลาง โดยมีทางเข้าเพียงทางเดียว และมีทางออกทางเดียวเท่านั้น
• กลุ่มของประโยคคำสั่งต่างๆ อาจจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูล แต่ต้องมีการกำหนดชื่่อของโมดูลด้วย เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานโมดูลนั้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น